เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 6. คติกถา
6. คติกถา
ว่าด้วยคติ
[231] ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต (ติเหตุกปฏิสนธิขณะ) ความเกิดขึ้น
แห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต
ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้น
กามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้
เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัย
แห่งเหตุเท่าไร
คือ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต ความเกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได
้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ 8 ประการ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต ความเกิดขึ้น
แห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้
เพราะปัจจัยแห่งเหตุ 8 ประการ ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัย
แห่งเหตุ 8 ประการ ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ 8
ประการ
[232] ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต (ติเหตุกปฏิสนธิขณะ) ความ
เกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ 8 ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ 3 ประการ1 ฝ่ายกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ 2 ประการ2ฝ่ายอกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในปฏิสนธิขณะ เหตุ 3 ประการ ฝ่ายอัพยากฤตเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูปเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

เชิงอรรถ :
1 เหตุ 3 ประการ ได้แก่ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ (ขุ.ป.อ. 2/232/199)
2 เหตุ 2 ประการ ได้แก่ โลภะและโมหะ (ขุ.ป.อ. 2/232/199)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :392 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 6. คติกถา
ในปฏิสนธิขณะ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป 4 เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ องค์ประกอบแห่งชีวิต 3
ประการ1 เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม 14 ประการ2นี้เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ อรูปขันธ์ 4 เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสย-
ปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ 5 เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุ 3
ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม 14 ประการ3นี้
เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ธรรม 28 ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต ความเกิดขึ้น
แห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ 8 ประการนี้ (1)
ในปฏิสนธิขณะ ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดี
มหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ 8 ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ 3 ประการ ฝ่ายกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ 2 ประการ ฝ่ายอกุศลเป็นสหชาตปัจจัย

เชิงอรรถ :
1 องค์ประกอบแห่งชีวิต 3 ประการ ได้แก่ (1) อายุ (2) ไออุ่น (3) วิญญาณ (ขุ.ป.อ. 2/232/201)
2 ธรรม 14 ประการ ได้แก่ ขันธ์ 5, มหาภูตรูป 4, ชีวิตสังขาร 3, นาม 1 รูป 1 (รวมเป็น 14) (ขุ.ป.อ.
2/232/201)
3 ธรรม 14 ประการ ได้แก่ อรูปขันธ์ 4, อินทรีย์ 5, เหตุ 3, นาม 1, วิญญาณ 1 (รวมเป็น 14) (ขุ.ป.อ.
2/232/201)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :393 }